“มุ่งมั่นจัดการศึกษาวิชาชีพด้านชีววิทยา ที่มีคุณภาพด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”
“มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนด้านชีววิทยา ให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพสู่สากล”
“สาขาวิชาชีววิทยาเป็นสาขาวิชาชั้นนำ ด้านชีววิทยาในระดับสากล”
1. ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญด้านชีววิทยาอย่างมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านชีววิทยาสู่ชุมชนและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
3. ให้บริการวิชาการด้านชีววิทยาเพื่อเสริมสร้างอาชีพและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
4. ทำนุบำรุงศาสนา ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
5. บริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล และพัฒนาองค์กรสู่องค์กรคุณภาพ
1. ผลิตบัณฑิตด้านชีววิทยามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2. มีงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านชีววิทยาที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาค
3. หน่วยงาน/ประชาชนในชุมชนและสังคมได้รับการบริการวิชาการด้านชีววิทยา ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
4. นักเรียน นักศึกษา และชุมชน มีความตระหนักในการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม
5. มีโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและความคล่องตัว
“บัณฑิตนักปฏิบัติ เชี่ยวชาญวิชาชีพด้านชีววิทยา”
อัตลักษณ์ของบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา
1. ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership skills) คือ การพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถในการเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ ประกอบด้วย ความมีพลังและมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Energy and achievement)ความปรารถนาที่จะนำผู้อื่น (The desire to lead) ความซื่อสัตย์มีจริยธรรมยึดมั่นหลักการ (Honesty and integrity) ความเชื่อมั่นและการสร้างแรงจูงใจในตนเอง (Self-confidence and motivation) ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) ความรอบรู้ในงาน (Job-relevant knowledge) และความสามารถที่จะจัดการกับความขัดแย้ง และคลี่คลายปัญหา (Conflict management)
2. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Problem-solving skills) คือ การพัฒนาบัณฑิตให้รู้จักการคิดเชิงระบบ (System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผล และมองเห็นหรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการได้
3. การมุ่งเน้นรายละเอียดเชิงวิชาชีพ (Detail-oriented skills) คือ การพัฒนาบัณฑิตให้มีความรอบรู้ในเชิงรายละเอียดของแต่ละวิชาชีพ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถเรียนรู้งานที่หลากหลาย (Ability to learn multitask) คือ การพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทั้งในวิชาชีพของตนและวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาบูรณาการกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ประกอบด้วย การพัฒนาบัณฑิตให้ตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ ค้นหา ติดตามความรู้โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง และสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) อันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว และไม่สิ้นสุด
6. การมีวุฒิภาวะ (Maturity) ประกอบด้วย การรู้จักใช้ชีวิตบนความพอเพียง / รู้จักเสียสละ/ มีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีความฉลาดทางอารมณ์ “Emotional Quotient” / ระดับความคิดด้านศีลธรรม “Moral Quotient” ในระดับสูง มีความอดทน อ่อนน้อม สัมมาคารวะ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี / ทำงานเป็นทีม มีวินัยและความรับผิดชอบ มีความตรงต่อเวลา และมีบุคลิกภาพที่ดี
“สาขาวิชาชั้นนำด้านชีววิทยา”