สมัครเรียน ป.ตรี

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี รับนักศึกษาในปีการศึกษา 2566 โดยเปิดรับ 4 ระบบ ได้แก่

โควตา MOU พิเศษของมหาวิทยาลัยฯ

โควตาพิเศษของแต่ละหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์

หลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์

ค่าเทอม 14,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิชาการ/นักวิจัย
  2. บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม/กลุ่มธุรกิจการเงิน/กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมหรือองค์กรวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. นักพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์
  4. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  5. นักวิเคราะห์ข้อมูล
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ รับผู้กำลังศึกษา/สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ที่เรียนรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่ากลุ่มละ 6 หน่วยกิต หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (255.3 KiB, 277 downloads)

สาขาวิชาเคมีประยุกต์

หลักสูตรสาขาวิชาเคมีประยุกต์

ค่าเทอม 14,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิจัย/นักวิชาการในหน่วยงานราชการและเอกชน
  2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยผลิต/วิจัยและพัฒนา/ควบคุมคุณภาพ
  3. นักการตลาดเกี่ยวข้องกับสารเคมี หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง
  4. ประกอบอาชีพอิสระ เกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายสารเคมีหรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 แผนการเรียนวิทย์ฯ – คณิตฯ หรือตามดุลยพินิจของกรรมการประจำหลักสูตร รวมถึงนักเรียนชาวต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้

B Sc (Applied Chemistry) (221.4 KiB, 171 downloads)

สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์

หลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์

ค่าเทอม 14,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. เจ้าหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
  2. นักวิทยาศาสตร์
  3. นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ
  4. หัวหน้าฝ่ายผลิตในโรงงานอุสาหกรรมทางชีวภาพ
  5. ครูผู้ช่วยสอนสาขาวิชาชีววิทยา
  6. Startup ในธุรกิจทางอุตสาหกรรมชีวภาพ
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร

B Sc (Applied Biology) (239.8 KiB, 149 downloads)

สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์

หลักสูตรสาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์

หลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 แขนง ได้แก่

  1. เทคโนโลยีเครื่องมือวัด (Instrumentation Technology)

  2. นวัตกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี (Materials Innovation and Nanotechnology)

ค่าเทอม 14,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. เจ้าหน้าที่สอบเทียบเครื่องมือวัดหรือนักมาตรวิทยา
  2. ผู้ช่วยนักวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องมือวัดหรือวัสดุ
  3. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และควบคุมคุณภาพด้านเครื่องมือวัดหรือวัสดุ
  4. วิศวกรฝ่ายขายและผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องมือวัดหรือวัสดุ
  5. ผู้ช่วยวิศวกรฝ่ายการผลิต
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทางด้านอุตสาหกรรม หรือเทียบเท่า หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือกรรมการบริหารคณะ

B Sc (Applied Physicss) (512.4 KiB, 126 downloads)

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ค่าเทอม 16,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  2. นักพัฒนาเว็บไซต์
  3. นักพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน
  4. ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
  5. ผู้พัฒนาระบบฐานข้อมูล
  6. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
  7. นักวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล
  8. นักทดสอบซอฟต์แวร์
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร

B Sc (Computer Science) (182.4 KiB, 728 downloads)

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดิจิทัล

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดิจิทัล

ค่าเทอม 16,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา โปรแกรมเมอร์ (Programmer) Mobile Application Developer Web Developer Software Developer Software Tester ผู้ดูแลระบบ (Admin) Network Administrator Server Administrator Database Administrator Network Security Specialist ผู้เชี่ยวชาญ IT เฉพาะด้าน (IT Specialist) IT Supporter UX/UI Designer Data Scientist System Analyst and Designer อาชีพอิสระ และผู้ประกอบการ (Freelance,  Self-employed & Entrepreneur) Entrepreneur YouTuber Freelancer คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร

B Sc (Information Technology And Digital Communication) (200.0 KiB, 253 downloads)

สาขาวิชาสถิติประยุกต์

หลักสูตรสาขาวิชาสถิติประยุกต์

ค่าเทอม 16,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
  2. นักวิเคราะห์วางแผนวิจัย
  3. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ
  4. เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต
  5. นักวิเคาะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ
  6. นักวางแผนและจัดระบบขนส่ง
  7. ผู้ประกอบการ/เข้าของธุรกิจ
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร

B Sc (Applied Statistics) (389.9 KiB, 75 downloads)

สาขาวิชาการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่

หลักสูตรสาขาวิชาการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่

ค่าเทอม 16,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    1.  วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
    2. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือนักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
    3. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร

B Sc (Big Data Management And Analytics) (454.1 KiB, 221 downloads)

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร

หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร

ค่าเทอม 14,000 บาท/ภาคเรียน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    1. ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร
    2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
    3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายผลิตในสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหาร
    4. ผู้ตรวจสอบระบบประกันคุณภาพ/ระบบผลิต
    5. นักวิจัยและพัฒนาและนักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ
  1. เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 (สาขา วิทย์-คณิต)
  2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
  3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต
  4. GPAX 6 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.50

B Sc (Food Science And Technology Management) (232.3 KiB, 96 downloads)

คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์คุยกับอาจารย์

TCAS65 (ม.6/สายสามัญ)

TCAS ปี 66 สำหรับ ม.6 แบ่งเป็น 4 รอบ ได้แก่

  1. TCAS1 Portfolio (เปิดรับ 2 รอบ)
    • รอบที่ 1 ม.6 เปิดรับสมัคร 1 พ.ย. - 11 ธ.ค.65
      รอบที่ 2 ม.6 เปิดรับสมัคร 17 ธ.ค.65 - 15 ม.ค.66
  2. TCAS2 Quota โควตา (เปิดรับ 2 รอบ)
    • รอบที่ 1 ม.6 สายสามัญ เปิดรับสมัคร 12 ก.พ. - 12 มี.ค.66
      รอบที่ 2 ม.6 สายสามัญ เปิดรับสมัคร 19 มี.ค. - 16 เม.ย.66
  3. TCAS3 Admission ม.6 สายสามัญ เปิดรับสมัคร 7-13 พ.ค.66
  4. TCAS4 Direct Admission รับตรง ม.6 สายสามัญ เปิดรับสมัคร 28 พ.ค. - 4 มิ.ย.66

กำหนดการ TCAS

โควต้า/สอบตรง/รับกลับเข้าศึกษา (ปวช/ปวส/กศน. สายอาชีพ)

สำหรับ ปวช./ปวส./กศน. สายอาชีพ แบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่

  1. โควตา ปวช./ปวส. เปิดรับสมัคร 1 พ.ย. - 11 ธ.ค.65
  2. สอบตรง ปวช./ปวส./กศน.สายอาชีพ เปิดรับสมัคร 25 ธ.ค.65 - 26 ก.พ.66

โควตา MOU พิเศษของมหาวิทยาลัยฯ

หากโรงเรียนของน้อง ๆ ได้ทำ MOU กับทางมหาวิทยาลัย น้อง ๆ สามารถขอสิทธิ์สัมภาษณ์ได้ทันที ทั้งนี้ต้องดูเกณฑ์คุณสมบัติด้วย โดยน้อง ๆ สามารถตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนของน้อง ๆ ว่าได้ทำ MOU กับมหาวิทยาลัยหรือไม่

ดูกำหนดการและสมัครโควตา MOU ของทางมหาวิทยาลัย คลิก

โควตาพิเศษของแต่ละหลักสูตร

โควตาพิเศษของแต่ละหลักสูตร เป็นการตัดสินใจรับนักเรียนเข้าศึกษาโดยตรงของแต่ละหลักสูตรผ่านการพูดคุยสอบถามกับอาจารย์โดยตรง ซึ่งไม่อิงเกณฑ์ในระบบอื่น ๆ

สแกน QR code หรือ คลิกที่นี่ เพื่อเข้ากลุ่มไลน์เพื่อสอบถามรายละเอียดของแต่ละหลักสูตร หรือแจ้งความจำจงในการสมัครรอบโควตาพิเศษ

สมัครเรียน

ปฏิทินการรับสมัครเข้าศึกษาต่อ

สมัครเรียน

แนะนำหลักสูตรของคณะ

ข่าวรับสมัครเข้าศึกษาต่อ