นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2566
April 30, 2023สรุปผลการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรม ในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva”
May 1, 2023มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำโดย รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี พร้อมกับ ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ ดร.ไฉน น้อยแสง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมนักวิจัยเข้าร่วมการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรม ในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva”ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งเป็นเวทีประกวดระดับนานาชาติ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน 2566 โดยภายในงานฯ มีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการกว่า 1,000 ผลงาน จากนานาประเทศกว่า 40 ประเทศ โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้คัดเลือกผลงานจาก มทร.ธัญบุรี เข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ จำนวน 7 ผลงาน ดังนี้
1. อนุภาคพอลิเมอร์ชีวภาพฉลาด: พอลิเมอร์ที่ตอบสนองต่อพีเอช กลิ่นหอม และสารลดแรงตึงผิวชนิดอนุภาค ต้านเชื้อจุลชีพ
โดย รศ.ดร.อมร ไชยสัตย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ผลิตภัณฑ์เนื้ออบแห้งจากพืชต้นแบบจากการทดแทนด้วยเปลือกกล้วย
โดย ดร.อัฏฐพล อิสสระ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. นวัตกรรมเซลล์โฟโตอิเล็กโตรคะตะไลติกร่วมกับโซลาร์เซลล์ สำหรับการบำบัดน้ำเสียและระบบผลิตน้ำสะอาด
โดย รศ.ดร. ฉัตรชัย พลเชี่ยว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชะลอวัยนาโนอิมัลชัน จากตำรับสมุนไพรไทยออร์แกนิกในรูปแบบแคปซูลนิ่ม จากธรรมชาติ ภายใต้โครงการ Bio-Circular-Green Economy เพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยระดับโลก
โดย รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ คณะการแพทย์บูรณาการ
5. เฟอร์นิเจอร์สนามที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ใช้งานแล้ว: ซูชิคอลเลคชั่น
โดย รศ.ดร. อนินท์ มีมนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
6. ผลึกนาโนเซลลูโลสจากผักตบชวา
โดย นายพฤติพงศ์ พันธมนัสโสภา และ รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ (อาจารย์ที่ปรึกษา) คณะวิศวกรรมศาสตร์
7. เครื่องอัดอิฐบล็อกปูพื้นกึ่งอัตโนมัติต้นทุนต่ำด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
โดย ผศ.ดร. ประชุม คำพุฒ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ภาพข่าวจาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
1. อนุภาคพอลิเมอร์ชีวภาพฉลาด: พอลิเมอร์ที่ตอบสนองต่อพีเอช กลิ่นหอม และสารลดแรงตึงผิวชนิดอนุภาค ต้านเชื้อจุลชีพ
โดย รศ.ดร.อมร ไชยสัตย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ผลิตภัณฑ์เนื้ออบแห้งจากพืชต้นแบบจากการทดแทนด้วยเปลือกกล้วย
โดย ดร.อัฏฐพล อิสสระ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. นวัตกรรมเซลล์โฟโตอิเล็กโตรคะตะไลติกร่วมกับโซลาร์เซลล์ สำหรับการบำบัดน้ำเสียและระบบผลิตน้ำสะอาด
โดย รศ.ดร. ฉัตรชัย พลเชี่ยว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชะลอวัยนาโนอิมัลชัน จากตำรับสมุนไพรไทยออร์แกนิกในรูปแบบแคปซูลนิ่ม จากธรรมชาติ ภายใต้โครงการ Bio-Circular-Green Economy เพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยระดับโลก
โดย รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ คณะการแพทย์บูรณาการ
5. เฟอร์นิเจอร์สนามที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ใช้งานแล้ว: ซูชิคอลเลคชั่น
โดย รศ.ดร. อนินท์ มีมนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
6. ผลึกนาโนเซลลูโลสจากผักตบชวา
โดย นายพฤติพงศ์ พันธมนัสโสภา และ รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ (อาจารย์ที่ปรึกษา) คณะวิศวกรรมศาสตร์
7. เครื่องอัดอิฐบล็อกปูพื้นกึ่งอัตโนมัติต้นทุนต่ำด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
โดย ผศ.ดร. ประชุม คำพุฒ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ภาพข่าวจาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี