การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
July 5, 2024ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร ที่ได้รับอนุสิทธิบัตร
July 6, 2024คู่มือการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต เทคนิคการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนสู่การสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
รูปแบบในการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม
- นำงานวิจัยมายกตัวอย่าง และมีการเรียนการสอนในการปฏิบัติจริงในลักษณะเดียวกับที่ดำเนินงานวิจัย โดยงานวิจัยจะเป็นตัวผลักดันในการเรียนการสอนได้ทางหนึ่ง เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดและเรียนสู้สิ่งใหม่ๆ เสริมสร้างกระบวนการคิดและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเสริมทักษะหรือศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตนวัตกรรม
- นำผลงานวิจัยใหม่มาเป็น case-study ให้นักศึกษาวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดในมุมมองที่หลากหลาย ฝึกฝนการสร้าง entrepreneurial mindset ในการเริ่มที่จะกล้าทำสิ่งใหม่ การลงมือทำจากโอกาสที่อยู่รอบตัว จนกระทั่งเกิดนวัตกรรม
- นำนวัตกรรมทางดิจิทัลมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อประหยัดเวลา และอำนวยความสะดวกทั้งผู้เรียนและผู้สอน และทำให้ผู้เรียนคุ้นชินกับระบบดิจิทัลที่ใช้ในการประกอบอาชีพงานวิจัยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทักษะการสร้างและพัฒนาสิ่งใหม่
- นำส่วนหนึ่งของงานวิจัยมาบูรณาการ ให้เด็กสามารถเกิดแนวคิดในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาพัฒนาต่อยอดสร้างนวัตกรรม โดยมีการยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากองค์ความรู้พื้นฐานมาใช้ ให้นักศึกษาเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
- นำงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้าง model ในการทำนาย เพื่อใช้เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาในรายวิชา Machine Leraning ซึ่งงานวิจัยมีความจำเป็นในการผลักดันให้นักศึกษาสามารถมีแนวคิดในการใช้ model เพื่อปรับใช้กับข้อมูลใหม่ๆเพื่อให้เกิดนวัตกรรมจนสามารถต่อยอดการใช้งานเช่นในสถานประกอบการได้ เช่นการจัดการสินค้าคงคลังในบริษัทขนส่ง เป็นต้น
- นำงานวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน โดยมอบหมายให้นักศึกษาในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง นำความรู้จากสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียน นำมาสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์
- นำงานวิจัยมาเป็น case study เพื่อให้เชื่อมโยงความรู้พื้นฐานซึ่งจะสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมได้
รูปแบบการจัดกิจกรรมในการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม และประสบการณ์การในการจัดการเรียนการสอนเทคนิคการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนสู่การสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
จาก ดร.ศิริลักษณ์ สุรินทร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีการอาหาร
รูปแบบการจัดกิจกรรมในการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม
- ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ที่กิจกรรมการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นสูง มีการกำหนดภาระงานที่ชัดเจน นักศึกษาจะต้องร่วมมือกันทำงาน และแก้ปัญหาร่วมกัน ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้ ได้แก่ การกำหนดประเด็นที่จะเรียนรู้ การตั้งคำถาม การเป็นผู้เลือกของนักศึกษา การให้ความสำคัญกับขั้นตอนกระบวนการการสืบค้นและสร้างนวัตกรรม
- การจัดการเรียนการสอนควรเน้นไปที่กระบวนการคิดเชิงออกแบบประกอบด้วย 1) เข้าใจปัญหา 2) กำหนดปัญหา 3) ระดมความคิด 4) สร้างต้นแบบที่เลือก 5) ทดสอบ เพื่อฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน มีทางเลือกที่หลากหลาย มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้เกิดกระบวนการใหม่ ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรม
- ออกแบบการจัดกิจกรรมในรายวิชาเป็นการพัฒนานวัตกรรม ที่เป็นลักษณะโครงงานให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ แก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน
ประสบการณ์การในการจัดการเรียนการสอนเทคนิคการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนสู่การสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
จาก ดร.ศิริลักษณ์ สุรินทร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีการอาการ
- กำหนดรายวิชาที่จะนำมาตั้งต้น (ซึ่งในที่นี้คือวิชาสุขภาพอาหารเพื่ออนาคต)
- กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs) ของรายวิชา โดย CLO ที่เป็นหัวใจของวิชานี้คือ การสร้างแนวคิดในการพัฒนาอาหารอนาคต
- สอนทฤษฏี
- สร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์
- กลั่นกรองแนวคิด
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
- นำเสนอแนวคิด
- ใช้กลไกสาขาในการผลักดันให้เด็กเข้าไปประกวด
- อาจารย์เข้ามาช่วยในการ coching
- นักศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็นผลิต/นวัตกรรม ส่งเข้าประกวดในเวทีประกวดต่าง ๆ
ปัญหาและอุปสรรคจากการบูรณาการงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา และแนวทางการแก้ไข
ปัญหาและอุปสรรค | แนวทางการพัฒนา |
1. ความรู้ความสามารถรวมถึงการรู้จริงหรือมีประสบการณ์จริงของผู้สอน มีส่วนสำคัญมาก เพราะหากผู้สอนไม่มีประสบการณ์ตรงหรือความเชี่ยวชาญก็ไม่อาจถ่ายทอดความรู้หรือแนวคิดที่สามารถเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษาให้เป็นนวัตกรหรือผู้ประกอบการที่่แท้จริงได้ |
การส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ 1.กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและสอดแทรกแนวคิดของผู้ประกอบการ เช่น 1) การมีภาวะผู้นำเป็นผู้นำในการตัดสินใจได้ 2) การมองภาพกว้างในทุก ๆ เรื่องและการมีแผนการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเสมอ 3) มีความกล้าในการสร้างสรรค์นวัตกรรม 4) มองเห็นโอกาสในการต่อยอดในการสร้างธุรกิจที่แตกต่างจากคนอื่น 2. มีกิจกรรมศึกษาดูงาน และเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ และผู้มีประสบการณ์ 3. มีรายวิชาที่ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการหรือมีแนวคิดผู้ประกอบการ การส่งเสริมการเป็นนวัตกร 1.จัดการเรียนรู้ในรายวิชาในลักษณะที่ 1.1 นักศึกษามีความคิดที่อิสระ เปิดโอกาสในการแสดงความคิด 1.2 นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง 1.3 เปิดทางเลือกให้นักศึกษาหาคำตอบที่หลากหลาย 1.4 เชื่อมโยงความคิดที่เป็นระบบอย่างมีขั้นตอนจากง่ายไปยาก จากใกล้ตัวไปไกลตัว 1.5 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 1.6 จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่นักศึกษามีโอกาสสร้างชิ้นงาน ผลงาน สิ่งประดิษฐ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยอยู่ในรูปแบบงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม |
2. ธรรมชาติของหลักสูตรหรือรายวิชาที่อาจจะยังยากสำหรับการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ ปัจจัยพื้นฐานที่จะเอื้อหรือส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอน |
ส่งเสริมการมีแนวคิดเชิงนวัตกรรมและการสร้างนวัตกรรมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือ การจัดการเรียนการสอน ทางอ้อมคือจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เช่น มีฐานข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรม ฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าหรือเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอด รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าประกวดในเวทีการประกวดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับคณะ ระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ เป็นต้น
|
3. องค์ความรู้จากงานวิจัย อาจมีข้อมูลเชิงลึก ที่นักศึกษาอาจจะยังไม่เข้าใจ อาจต้องมีการเพิ่มเติมองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย | การเชื่อมโยงงานวิจัยกับความรู้พื้นฐานของนักศึกษาซึ่งจะสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมได้ |
4. การเป็นนวัตกร ของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันแต่ทุกคนจะได้รับการส่งเสริมในการฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน มีทางเลือกที่หลากหลาย มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการน่าจะได้แค่เพียง มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ เพราะสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ประกอบการคือ เงินทุน |
จัดการเรียนการสอนที่นักศึกษาทุกคนจะได้รับการส่งเสริมในการฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน มีทางเลือกที่หลากหลาย มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และมีกระบวนการประเมิน เช่น มีจำนวนนักศึกษากี่คนที่สามารถสร้าง/พัฒนานวัตกรรม มีจำนวนนักศึกษากี่คนที่มีแนวคิดในการเป็นนวัตกร มีจำนวนนักศึกษากี่คนที่สมารถเป็นผู้ประกอบการได้ในระหว่างการศึกษา/หลังสำเร็จการศึกษา มีจำนวนนักศึกษากี่คนที่มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินไปวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อปรับปรุงกระบวนการพัฒนาบัณฑิต |
คุณสมบัติหรือทักษะใดที่นักศึกษาควรมีเพื่อเป็นตัวชี้วัดในการเป็นนวัตกร/ผู้ประกอบการ แนวทางในการพัฒนา
คุณสมบัติ/ทักษะ | แนวทางการพัฒนา | |
นวัตกร | สามารถสร้าง/พัฒนานวัตกรรมได้ |
นำงานวิจัยมาเป็น case study เพื่อให้เชื่อมโยงกับองค์ความรู้พื้นฐาน/เกิดแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม หลังจากนั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่นำหลักการ ของ Design Thinking มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่ Empathize >> สังเกต ทำความเข้าใจเกิดคำถาม Define >> ปัญหาของผู้ใช้ ผู้ใช้คือใคร Idate >> คิด รวบรวมไอเดีย Prototype >> สร้างแบบจำลองที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหาได้ Test >> ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง แก้ไข ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด
|
มีความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์มีความสามารถในการแก้ปัญหา | ||
มุมมองในการสร้างพัฒนาสิ่งที่แตกต่างจากปัจจุบัน – ใฝ่หาข้อมูล ใฝ่รู้ แสวงหาสิ่งใหม่ – ช่างสังเกต – มีเหตุผล | ||
ความคิดสร้างสรรค์และการมองโลกในแง่มุมใหม่: การมองโลกและเหตุการณ์รอบตัวอย่างอย่างเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและได้เห็นโอกาสที่อาจมองข้ามได้สำคัญ | ||
ทักษะในการบูรณาการองค์ความรู้พื้นฐาน | ||
ผู้ประกอบการ | ผู้ประกอบการ: สร้างธุรกิจของตนเองที่สร้างรายได้ได้ |
– มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ – เชิญผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีประสบการในแต่ละด้านเข้ามาช่วยสอน อบรม – การให้นักศึกษาได้เข้าไปทดลอง ปฎิบัติงานจริง การฝึกงาน ฝึกสหกิจในสถานประกอบการจริง การทดลองทำโครงการ หรือทำสินค้าไปทดลองขายจริง มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำการตลาด และนำไปทดลองขายจริง |
กล้าคิดกล้าทำ – มีความอดทนเพียรพยายาม – มีอิสระทางความคิด – มีความยืดหยุ่นภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน | ||
การวางแผนงาน การบริการจัดการ ทักษะทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง | ||
ทักษะในการจัดการเวลาและวางแผนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ | ||
ทักษะด้านเทคโนโลยีสำหรับผู้ประกอบการ |
การจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีการพัฒนานวัตกรรมหรือมีทักษะความเป็นผู้ประกอบการสำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน
- ควรเริ่มจากการศึกษาแนวทางของการเป็นนวัตกร มีทักษะความเป็นผู้ประกอบการจากผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้วเป็นแนวทาง
- หาความรู้ในด้านดังกล่าวด้วยตนเอง ปรับเปลี่ยนตัวเองให้ใกล้ชิดกับนวัตกรหรือผู้ประกอบการจริง
- เรียนรู้เพิ่มเติม ออกไปหาประสบการณ์จากภายนอก ทำงานร่วมกับภายนอกให้มากขึ้น
- สร้างหรือผลิตผลงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาหรือต่อยอดสู่นวัตกรรม
- เล่าหรือแชร์ให้นักศึกษาในรายวิชา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากมุมมองที่หลากหลายทั้งในแง่ของประสบการณ์/แนวคิด
- การนำเอาประเด็นหรือสาระจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงผลงาน และทำซ้ำกระบวนการจนเกิดแนวคิดความเป็นผู้ประกอบทั้งในตัวอาจารย์และนักศึกษาร่วมกัน
- ผู้สอนควรศึกษาและเข้าใจความสำคัญของนวัตกรรมและทักษะความเป็นผู้ประกอบการในชีวิตประจำวันและในธุรกิจ ให้นักศึกษามีโอกาสสร้างและทดลองนวัตกรรมด้วยตัวเองแบบไม่ปิดกั้น อาจเป็นการให้โจทย์หรือโปรเจคที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ หรือการสร้างโซลูชั่น
- ศึกษาขอบเขตของการพัฒนานวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อที่สอดคล้อง หรือสามารถนำมาประยุกต์ได้
- สร้างแผนการสอนที่เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม: ให้ผู้สอนสร้างแผนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม อาจรวมถึงโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดนวัตกรรม การทดลองหรือการทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- ทำความเข้าใจร่วมกันถึงเป้าหมายของการพัฒนาบัณฑิตสู่การเป็นนวัตกร หรือผู้ประกอบการ ดูตัวอย่างจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนสู่การสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ และนำมาปรับใช้
การสนับสนุนหรือผลักดันของคณะ/มหาวิทยาลัย ที่จะช่วยให้การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมการเป็นนวัตกร/ผู้ประกอบการได้สำเร็จ
- จัดสรรบุคลากรให้เหมาะสม ให้มีเวลาพอที่จะออกไปศึกษา/หาแนวทาง/ทำงานร่วมกับนวัตกรหรือผู้ประกอบการจริงได้มากขึ้น เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของผู้สอนและสามารถนำมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาได้ถูกต้องไม่หลงทาง
- ช่วยจับคู่หรือประสานงานให้อาจารย์ได้รู้จักและร่วมงานกับสถานประกอบการ
- การส่งเสริมปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ ปรับปรุงสภาพกายภาพ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สภาพภายในอาคาร สภาพภูทิทัศน์รอบอาคาร ที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ การบ่มเพาะทางวิชาการที่เป็นสิ่งสำคัญต่อการส่งเสริมการเป็นนวัตกร หรือผู้ที่มีแนวคิดผู้ประกอบการ
- ส่งเสริมให้อาจารย์ไปเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านนี้ให้มากขึ้น และสร้างการวัดผลจากการไปพัฒนาตนเองให้ชัดเจน โดยไม่สร้างภาระการทำงานที่มากเกินไป
- การสร้างพื้นที่สำหรับนักศึกษาที่สนใจการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจ เช่น ห้องทดลองหรือสถานที่สำหรับการสร้างโปรโตไทป์
- มีการจัดการอบรมให้กับอาจารย์ผู้สอนในบางรายวิชาที่อาจจะสามารถสร้างนวัตกรรมและเป็นผู้ประกอบการได้ ให้อาจารย์ผู้สอนได้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- เครื่องมือทางด้านซอฟต์แวร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่พร้อมใช้ในการประมวลผล จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พอกับนักศึกษา และ TA
- จัดกิจกรรมส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกร เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำผู้ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนสู่การสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเป็นแนวทางให้กับอาจารย์ผู้สอน
- มีการส่งเสริมความรู้ ทางด้านการประกอบธุรกิจ การเป็นเจ้้าของสถานประกอบการให้กับนักศึกษา
วิธีการใด/กระบวนการที่เป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันให้นักศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมและเป็นผู้ประกอบการได้
- การได้ลองเป็นผู้ประกอบการจริง
- แรงจูงใจและการสร้างความสนใจให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการ
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้ระบบและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ
- ผู้มีส่วนร่วมในทุกระดับ ทั้ง ผู้บริหาร และอาจารย์ ต้องเข้าใจและมองเห็นเป้าหมายเดียวกันอย่างชัดเจนก่อน จึงจะสามารถสอนและผลักดันนักศึกษาให้พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องได้
- การได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์และผู้บริหารที่สนใจในการสร้างนวัตกรรม และการส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ โดยให้คำแนะนำและโอกาสในการแสดงแนวคิดและเสนอโครงการ
- การส่งเสริมรายวิชาที่มีการผลักดันให้นักศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมและเป็นผู้ประกอบการได้
- ฝึกการสร้างนวัตกรรม จนสามารถประเมินมูลค่าของนวัตกรรมออกมาเป็นตัวเลข เห็นผลกำไรจริง จากการสร้างนวัตกรรม จะได้สามารถต่อยอดไปในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยกรที่จะลงทุนด้วยตนเองในอนาคตได้
- การที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมและเป็นผู้ประกอบการ คือการเรียนรู้โดยการลงมือทำ (Learning by Doing)
- ผู้สอนต้องเป็นนวัตกรก่อน และรูปแบบการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน มีทางเลือกที่หลากหลาย มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรม รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต
- การมีเครื่องมือ หรือ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงแหล่งทุนที่เพียงพอ
- คัดเลือกนักศึกษาที่มีความต้องการ มีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ และการพัฒนานวัตกรรม เพื่อส่งเสริมสนับสนุน
Knowledge-management-manual-for-graduate-production2024.pdf