โครงการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
August 14, 2024โครงการ“ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่อาชีพด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่”
August 16, 2024คู่มือสรุปการจัดการความรู้
เรื่อง เทคนิคการผลิตผลงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีผลกระทบสูง
สามารถกล่าวโดยสรุป ดังนี้
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รวบรวมประเด็นและกลั่นกรองความรู้ออกมาเป็นกระบวนการ/ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1.การสร้างของ: ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีผลกระทบสูง (Q1) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 วางแผนการดำเนินโครงการวิจัยให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่มีคุณภาพเพียงพอ มีองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
1.2 เลือกวารสารเป้าหมายระดับ Q1 ที่มีขอบเขตสอดคล้องกับโครงการวิจัย
1.3 ดำเนินการทดลอง บันทึกผล วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลองอย่างรอบคอบ น่าเชื่อถือ ถูกต้อง และแม่นยำ
1.4 จัดเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยโดยนำเสนอผลการทดลองและอภิปรายผลการทดลองให้รัดกุม ชัดเจน น่าสนใจ ตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด
1.5 ตรวจสอบ plagiarism และการใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักภาษา
2.การพัฒนาคน แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น
2.1 แรงกระตุ้นและการส่งเสริมให้นักวิจัยสามารถตีพิมพ์บทความ Q1
- ความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถนำไปยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นได้
- การประเมินผลปฏิบัติราชการ รางวัลและค่าตอบแทนพิเศษต่างๆ เช่น เงินสมนาคุณ ค่าตอบแทนพิเศษ (ขาสอง)
- เงื่อนไขของแหล่งทุน และสามารถเป็นผลงานเพื่อขอรับทุนวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นโครงการวิจัยที่มีขนาดใหญ่
- การพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการที่สูงขึ้น ความเชี่ยวชาญของตนเอง ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและมีโอกาสทำงานหรือมีความร่วมมือกับนักวิจัยคนอื่นๆ
- ความท้าทาย สร้างความมั่นใจและภูมิใจในตนเองมากขึ้น
2.2 เทคนิค หรือ ทริค (trick) ในการเตรียมต้นฉบับและการเลือกวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับ Q1
2.2.1 เทคนิคในการเตรียมต้นฉบับ มีดังนี้
2.2.1.1 การตั้งชื่อเรื่อง : สั้น กระชับ ชัดเจน และควรมีคำสำคัญ ที่แสดงถึงความโดดเด่นของงานวิจัย อาจใช้ AI ในการปรับแต่งให้มีความน่าสนใจ
2.2.1.2 การเขียนบทคัดย่อ : เขียนให้กระชับและครอบคลุมทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย เน้นนำเสนอข้อค้นพบที่สำคัญ และควรมีแนวทางการต่อยอดงานวิจัย
2.2.1.3 การนำเสนอผลการทดลอง : นำเสนอผลการทดลองด้วยตาราง แผนภูมิ กราฟ รูปภาพ หรือกราฟฟิกที่สวยงามและชัดเจน อีกทั้งสอดคล้องกับประเด็นของงานวิจัยที่ต้องการเผยแพร่
2.2.1.4 การอ้างอิง : ใช้โปรแกรมในการจัดทำการอ้างอิงตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ควรมีอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎี ที่มีความทันสมัย อาจเลือกอ้างอิงบทความวิจัยของผู้เชี่ยวชาญในอันดับต้นๆ ของโลก
2.2.1.5 การตรวจภาษา: ใช้โปรแกรม AI ในการช่วยตรวจภาษา เช่น grammaly ChatGPT quillbot หรืออาจส่งตรวจโดย native sperker เพื่อขอใบรับรอง
2.2.1.6 ข้อควรระวัง : ส่งข้อมูลและเอกสารตามที่วารสารกำหนดให้ครบ (ปัจจุบันมีเพิ่มเติมในส่วนของ highlight และ graphical abstract และควรตรวจสอบ plagialism ไม่ควรเกิน 20% และตรวจสอบ
2.2.2 โปรแกรม AI แนะนำที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลงานวิจัย ได้แก่
3.รู้ตลาด: เทคนิคในการเลือกวารสาร มีดังนี้
3.1 ใช้เครื่องมือทางดิจัทัล (AI) ช่วยเลือกวารสาร เช่น journal finders
3.2 เลือกวารสารที่มีวัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์การเผยแพร่ผลงานที่ตรงกับและสอดคล้องกับงานวิจัยของนักวิจัย
แหล่งข้อมูลรายชื่อวารสารและลำดับ Ranking
- SCOPUS CiteScore Journal Ranking List
- Scimago Journal & Country Rank
- VDO Scopus Journal Analysis Tutorial สามารถเรียนรู้วิธีการใช้ฐานข้อมูลได้ที่ QR code
3.3 ทดลองส่งบทความไปในวารสารที่มีผลกระทบสูงๆ ก่อน เพื่อนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงบทความ อีกทั้งยังมีโอกาสได้รับการแนะนำให้ส่งบทความไปตีพิมพ์กับวารสารในเครือที่เหมาะสม ทำให้มีโอกาสได้ตอบรับการตีพิมพ์สูง
3.4 พิจารณาข้อมูล journal matrix เช่น อัตราการตอบรับ ระยะเวลาการตอบรับ ระยะเวลาในการดำเนินการ
3.5 เลือกวารสารที่มีให้เลือก open access เพื่อเพิ่มโอกาสในการเผยแพร่ผลงาน
4.ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขที่ทำให้นักวิจัยสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับ Q1
ปัญหา/ อุปสรรค | แนวทางแก้ไข |
4.1 คุณภาพงานวิจัยไม่พียงพอเนื่องจาก เครื่องมืออุปกรณ์ในการทำวิจัย | 4.1.1 ควรมีผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านงานวิจัย เช่น อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาเอก |
4.1.2 ทดลองส่งบทความต้นฉบับไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Q สูง ๆ ก่อน เพื่อนำคำวิจารณ์มาปรับปรุงและหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | |
4.1.3 สร้างเครือข่ายกับนักวิจัยหรือนักวิชาการทั้งในและนอกคณะเพื่อแลกเปลี่ยการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกันน | |
4.1.4 วางแผนงานวิจัยแบบมุ่งเป้าและปรับแผนการดำเนิงานให้มีความทันสมัย โดยการติดตามงานวิจัยใหม่ๆ อยู่เสมอ | |
4.2 กรอบงบประมาณวิจัยไม่เพียงพอต่อวิจัยขั้นสูงการผและการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีผลกระมบสูง ซึ่งมีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์สูง | 4.2.1 ให้รวมค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในทุนวิจัยที่ขอ / ใช้งบประมาณตนเองเพิ่มเติมในการทำงานวิจัย |
4.2.2 ของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อการทำวิจัยและตีพิมพ์ | |
4.3 ขาดแรงจูงใจและสภาวะแวดล้อมทางวิชาการที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ทำงานวิจัยและตีพิมพ์ |
4.3.1 ให้กำลังใจตัวเองสม่ำเสมอ อย่าท้อแท้ 4.3.2 เข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือกลุ่มนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
4.4 งานวิจัยไม่ต่อเนื่อง ไม่มีเวลา ภาระงานสอนเยอะ | 4.4.1 แบ่งหรือกระจายงานวิจัยออกเป็นส่วนๆ และมีผู้รับผิดชอบชัดเจน |
4.4.2 พัฒนานักศึกษาปี 4 /ระดับบัณฑิตศึกษา ให้เป็นผู้ช่วยวิจัยที่มีประสิทธิภาพ | |
4.5 ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่ยังไม่เหมาะสม | 4.5.1 มีเครือข่ายนักวิจัยต่างประเทศเพื่อช่วย review และตรวจสอบต้นฉบับบทความ |
4.5.2 เรียนรู้การใช้ AI เพื่อช่วยในการตรวจภาษา |