สาขาวิชาสถิติประยุกต์และวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล

14,000 บาท/เทอม

จุดเด่นของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสถิติประยุกต์และวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล

หลักสูตรฯ มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานทฤษฎีและปฏิบัติ มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย นักศึกษาได้ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม ทักษะการนำเสนอและแปลผลข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สามารถประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีโอกาสได้ทำโครงงานวิจัยหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพในองค์กรจริง อีกทั้งหลักสูตรประกอบด้วยกลุ่มวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มวิชาสถิติอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ กลุ่มวิชาวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ และกลุ่มวิชาสถิติประกันภัย

รหัสหลักสูตร
ภาษาไทย :        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์และวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Applied Statistics and Data Analytics

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) :         วิทยาศาสตรบัณฑิต (สถิติประยุกต์และวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล)
ชื่อย่อ (ไทย) :           วท.บ. (สถิติประยุกต์และวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :   Bachelor of Science (Applied Statistics and Data Analytics)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) :     B.Sc. (Applied Statistics and Data Analytics)

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
PLO 1 : อธิบายหลักการและทฤษฎีทางสถิติ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์พื้นฐานได้อย่างถูกต้อง
PLO 2 : อธิบายหลักการและทฤษฎีในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยได้อย่างถูกต้อง
PLO3 : ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการ วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลได้
PLO 4 : วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้องค์ความรู้ด้านสถิติและวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางสถิติ
PLO5 : วิเคราะห์ข้อมูลเชิงวินิจฉัย โดยใช้องค์ความรู้ด้านสถิติและวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางสถิติ
PLO6 : วิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนาย โดยใช้องค์ความรู้ด้านสถิติและวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางสถิติ
PLO7 : วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสนับสนุนการตัดสินใจ โดยใช้องค์ความรู้ด้านสถิติและวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางสถิติ
PLO8 : ใช้องค์ความรู้ด้านสถิติ วิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม
PLO9 : นำเสนอข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ปกปิดหรือบิดเบือนความจริง
PLO10 : ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารและนำเสนอได้
PLO11 : ทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะของผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง
1. นักวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
2. นักวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติธุรกิจ / นักวิเคราะห์ทางการตลาด
3. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล / นักจัดการสารสนเทศ
4. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ / เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต
5. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์วางแผน วิจัย และประมวลผล
6. เจ้าหน้าที่วางแผนและจัดระบบขนส่ง
7. นักสถิติประกันภัย
8. นักวิเคราะห์โลจิสติกส์
9. ผู้ช่วยนักวิเคราะห์วิจัยปฏิบัติการ
10. อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติผู้ศึกษาต่อ
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) คุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีว่าด้วยการศึกษา ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2550 และฉบับเพิ่มเติม พ.ศ. 2556 ซึ่งขึ้นอยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือกรรมการบริหารคณะ/วิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า                           131 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า                                                      24 หน่วยกิต
   1.1) กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ไม่น้อยกว่า      9 หน่วยกิต
   1.2) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและการเสริมสร้างนวัตกรรม ไม่น้อยกว่า     6 หน่วยกิต
   1.3) กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร ไม่น้อยกว่า                                   6 หน่วยกิต
   1.4) กลุ่มวิชาส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า                 3 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า                                                                101 หน่วยกิต
   2.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                                              30 หน่วยกิต
   2.2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ                                                                       49 หน่วยกิต
   2.3) กลุ่มวิชาชีพเลือก                                                                         15 หน่วยกิต
   2.4) กลุ่มวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ในวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า              7 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า                                                              6 หน่วยกิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์และวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2568 (453.6 KiB, 275 downloads)

ช่องทางการติดต่อ

สาขาวิชาสถิติประยุกต์

02 549 4137


ข้อมูลหลักสูตร

 

Facebook สาขาวิชาสถิติประยุกต์