โครงการส่งเสริมแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระดับมัธยมศึกษา

การประกวดโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ครั้งที่ 10

Youth Scientists & Innovators: The new engine driving the BCG Economic Model 

นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรรุ่นเยาว์ พลังใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โมเดล

ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 48,000 บาท

พร้อมเกียรติบัตรและโควตาศึกษาต่อ ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักการและเหตุผล

วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญในด้านต่างๆ เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงของโลก ความหมายของวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือ การใช้ทรัพยากรบุคคล ความรู้จากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น พัฒนาสมรรถนะภาคธุรกิจ สังคม และขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ จุดสำคัญคือ การสร้างกำลังคนที่มีขีดความสามารถเพียงพอ พร้อมมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่เด็ก ด้วยวิธีการ รูปแบบ           ที่หลากหลาย ตามความถนัด ความสนใจ จะสามารถช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้รับความรู้และเพิ่มพูนศักยภาพทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องต่อเนื่อง และสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีศักยภาพความพร้อมทั้งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากร และห้องปฏิบัติการ ดำเนินงานตามพันธกิจสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ชาติ จึงเล็งเห็นประโยชน์ในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดโครงการการประกวดโครงงานส่งเสริมแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระดับมัธยมศึกษา "การประกวดโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ครั้งที่ 10 Youth Scientists & Innovators: The new engine driving the BCG Economic Model  นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรรุ่นเยาว์ พลังใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โมเดล" กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ Area based (ปทุมธานี  นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือทั้งในระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ กระตุ้นให้เกิดการบูรณาการความรู้ สู่เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม จากโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้ได้นักเรียน ดี เก่ง และมีศักยภาพเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสร้างเครือข่ายทั้งกับนักเรียน โรงเรียนต่างๆ โดยแบ่งหัวข้อโครงงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2.กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ 3.กลุ่มคอมพิวเตอร์ และ4.กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมวิทยาศาสตร์

 วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ การบูรณาการความรู้ สู่เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม จากโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้แนวความคิด Youth Scientists & Innovators: The new engine driving the BCG Economic Model นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรรุ่นเยาว์ พลังใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โมเดล" ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผ่านกิจกรรมการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์

2.เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ Area based มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ปทุมธานี  นครนายก  ปราจีนบุรี  สระแก้ว และฉะเชิงเทรา)  และโรงเรียนที่มีกิจกรรมความร่วมมือ

ประเภทโครงงาน 4 กลุ่ม

AI nuclear energy background, future innovation of disruptive te
กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
AI nuclear energy background, future innovation of disruptive te
กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมวิทยาศาสตร์
AI nuclear energy background, future innovation of disruptive te
กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ
AI nuclear energy background, future innovation of disruptive te
กลุ่มคอมพิวเตอร์

รับจำนวนจำกัด เพียง 15 ทีม/ประเภท

เกณฑ์การส่งโครงงานเข้าร่วมการประกวด

  • 1. เป็นนักเรียนระดับ ม.4-ม.6 หรือ นักเรียนระดับอาชีวศึกษาระดับ ปวช.
  • 2. สมาชิกในทีม นักเรียน ไม่เกิน 3 คน พร้อมคุณครูที่ปรึกษา 1 คน
  • 3. ผู้เข้าร่วมประกวด 1 คน ส่งรายชื่อได้เพียง 1 ทีม (คุณครู เป็นที่ปรึกษาได้มากกว่า 1 ทีม)
  • 4. โครงงาน 1 โครงงาน ส่งประกวดได้เพียง 1 ประเภทเท่านั้น
  • 5. สถานศึกษาส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันได้ ไม่เกิน 2 ทีม/ประเภทโครงงาน

กำหนดการ

  • ขยายเวลาถึง 13 สิงหาคม 2566

    8 สิงหาคม 2566
    รับสมัครและส่งผลงาน
    1. กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
    2. กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ
    3. กลุ่มคอมพิวเตอร์
    (*ยกเว้นกลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมวิทยาศาสตร์)
  • 15 สิงหาคม 2566

    11 สิงหาคม 2566
    ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด
  • 18 สิงหาคม 2566

    ประกวดแข่งขัน
    ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี

วิธีการดำเนินการแข่งขัน

  1. รับสมัครผ่าน google form โดยสแกนได้จาก QR CODE เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น หมดเขตรับสมัครภายในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566  *ปิดรับสมัครทันทีเมื่อมีจำนวนทีมสมัครครบ 15 ทีม/ประเภทโครงงาน* และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวดโครงงาน วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566
  2. ผู้ประกวดต้องส่งรูปเล่มรายงานโครงงานโดยแนบเป็นไฟล์ PDF มาพร้อมกับการสมัคร (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.sci.rmutt.ac.th) โดยกำหนดให้ความยาวไม่เกิน 8 หน้ากระดาษ A4 โดยไม่นับรวมเอกสารอ้างอิง กำหนดให้ใช้แบบอักษร ขนาดอักษร และการเว้นบรรทัดตามแบบฟอร์มใบสมัครเท่านั้น
  3. ผู้เข้าร่วมประกวดจะจัดทำป้ายแสดงโครงงานให้ถูกต้องตามแบบ สสวท. โดยประกอบด้วยวัสดุ เป็นแผ่น 3 แผ่น แผ่นกลางมีขนาด 60×120 เซนติเมตร แผ่นข้างมีขนาด 60×60 เซนติเมตร (ดังรูป)
  4. ผู้เข้าร่วมประกวดจะต้องจัดแสดงผลงาน นำเสนอ และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ สามารถนำโครงงานมาจัดพร้อมแสดงชิ้นงาน โดยมีระยะเวลานำเสนอ 10 นาทีต่อโครงงาน และเวลาตอบข้อซักถามไม่เกิน 5 นาที ในวันประกวดโครงงาน วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 (ทั้งนี้กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม กรุณาเตรียมพร้อมก่อนเวลาประกวดล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที)

 รางวัล

รางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมประกวด จำนวน 24 รางวัล ในทุกกลุ่มโดยมีรายละเอียด ดังนี้

          - รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล จำนวน 6,000 บาท จำนวน 4 รางวัล

          - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล จำนวน 4,000 บาท จำนวน 4 รางวัล

          - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท จำนวน 4 รางวัล

          - รางวัลชมเชย ประกาศนียบัตร จำนวน 12 รางวัล (กลุ่มละ 3 รางวัล)

หมายเหตุ

1.ผู้เข้าร่วมการประกวดทุกทีมจะได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการ
2.ประกาศนียบัตรทุกประเภทเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์

 

 
 
 
 

ดาวน์โหลดเอกสาร